ผลงานการติดตั้งและทดสอบ CEMS , Gas Detector
ยกระดับระบบตรวจวัดมลพิษทางอากาศด้วย CEMS และ Gas Detector
ปลดล็อกศักยภาพการตรวจวัด พร้อมติดตาม ควบคุมมลพิษทางอากาศ
ด้วยผลงานการติดตั้งและทดสอบ CEMS (Continuous Emission
Monitoring System) และ Detector จากทีมผู้เชี่ยวชาญของ AWJ ที่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าระบบ CEMS และ Gas Detector
ของคุณทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ และตรงตามมาตรฐานที่กำหนด
สอบถามข้อมูลเพิ่มติมเกี่ยวกับบริการติดตั้ง CEMS และ Gas Detector
โครงการประกอบตู้, ทดสอบและติดตั้ง CEMS โรงไฟฟ้า
จังหวัดสมุทรปราการ |
|
โครงการติดตั้งและทดสอบ Gas Detector
และระบบ Gas Detector System คลังก๊าซ จังหวัด ลำปาง |
|
โครงการติดตั้งเครื่องวัดฝุ่นเปียก Wet Dust Analyzer
for CEMS โรงงานปิโตรเคมี จังหวัดระยอง |
|
โครงการติดตั้ง CEMS SO2 with PLC Switching โรงไฟฟ้า
จังหวัดระยอง |
|
งานติดตั้งระบบ CEMS และ DAS
Onlineโรงงานน้ำตาลจังหวัดมุกดาหาร |
|
งานติดตั้ง Biogas Analyzer
โรงงานสุรา จังหวัดอุบลราชธานี |
|
ทำความรู้จัก CEMS EP.1
CEMS ย่อมาจาก Continuous Emission Monitoring System
เป็นการวัดมลพิษที่ปล่องระบายแบบต่อเนื่อง ในกฏหมายประเทศไทย เริ่มประกาศใช้ครั้งแรกปี 2544
และมีการปรับแก้กฎหมายตามเทคโนโลยีและสถานการณ์เรื่อยมา โดยกฎหมาย CEMS ฉบับล่าสุด ประกาศใช้ปี 2565
CEMS แบ่งเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการเก็บตัวอย่าง คือ
1. CEMS แบบ Extractive type คือ เป็นการวัดแก๊สที่ปล่องระบายโดยดึงแก๊สลงมาวัดในเครื่องวัดแก๊ส (Gas
Analyzer) แบ่งย่อยเป็น 2 ระบบ คือ Extractive Hot wet นิยมใช้เมื่อมีการวัดค่า HCl, HF, NH3 และ
Extractive Cold Dry นิยมใช้กับการวัด CO, SO2, NOx, O2, CO2, CH4
2. CEMS แบบ In-situ type คือ การวัดค่ามลพิษในปล่องระบายที่จุดเก็บตัวอย่าง (Stack Sampling Point)
แบ่งย่อยเป็น 2 ระบบคือ In-situ point stack และ In-situ cross stack
ทั้ง 2 ระบบ มีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันไป การเลือกระบบ CEMS ที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิต
จะช่วยให้สามารถผ่าน RATA Test ตามกฏหมาย และลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และการดูแลรักษา
ทำความรู้จัก CEMS EP.2
Extractive CEMS แบบ Cold Dry คือ CEMS ที่ใช้การดึง Sampling Gas มาวัด โดยการดึง Sampling
จะต้องมีการควบคุมความร้อนตั้งแต่ Heated Probe, Heated Line จนมาเปลี่ยนอุณหภูมิเป็นต่ำกว่าบรรยากาศ ที่
Gas Cooler ก่อนผ่านเข้า CEMS โดยในระหว่างนี้จะมีผ่านอุปกรณ์ควบคุมอื่นๆ ได้แก่ Sampling Pump, Flowmeter,
Moisture Detector เป็นต้น เพื่อควบคุมให้ Gas ที่ต้องการวัดมีสภาพที่เหมาะสม
และค่าไม่หายไปกับการควบคุมสภาพ จึงต้องมีการออกแบบให้ถูกต้องและเหมาะสมกับตัวอย่างแก๊สที่วัด
ข้อดีของระบบนี้คือราคาไม่สูง แต่มีข้อด้อยคือ ต้องออกแบบให้เหมาะกับตัวอย่างแก๊ส
เพราะอาจมีการสูญเสียค่าไปกับการควบแน่นของแก๊ส และต้องการดูแลรักษาอุปกรณ์หลายส่วน
|
|
กฎหมายเครื่องวัดมลภาวะจากแหล่งกำเนิดแบบต่อเนื่อง (CEMS) ของไทย ประกาศล่าสุดปี 2565
ที่เพิ่มเริมจากฉบับเดิม คือ กำหนดให้ทุกโรงงานที่เข้าข่ายติดตั้ง CEMS นอกจากต้องมีการติดตั้งเครื่องวัด
Gas กับวัดฝุ่น แล้ว ยังกำหนดให้มีการวัดปริมาณการปล่อย (Stack Flowrate) และอุณหภูมิ เพิ่มเติม
ดังนั้นโรงงานเดิมที่มีการติดตั้ง CEMS อยู่แล้ว จะต้องมีการติดตั้งเครื่องวัดอัตราการไหล(Flowrate) และ
อุณหภูมิ เพิ่มเติม
AWJ Innovation Co.,Ltd. เป็นผู้จำหน่ายและให้บริการติดตั้ง ดูแลรักษา พร้อมเชื่อมโยงระบบ CEMS
เข้ากรมโรงงาน หรือการนิคมอุตสาหกรรม ดำเนินการติดตั้ง Stack Flow Meter และ Temperature แบบCombine
ไว้ด้วยกันใน Probe เดียว เพื่อลดจำนวนการเจาะ Stack เพิ่ม พร้อมด้วยระบบ Blowback ลดปัญหาหารอุดตันใน
pitot tube ของเครื่องวัด Stack Flow Meter
CEMS ตามกฎหมายไทย ประกอบด้วยการวัดค่ามลพิษของแก๊ส ฝุ่น อัตราการไหล และอุณหภูมิ จากนั้นทำการเทียบ
Reference ที่ Oxygen 7% แบบDry Basis และส่งค่าแบบต่อเนื่องให้หน่วยงานราชการ ระบบCEMS
หากได้รับการดูแลที่ดีและต่อเนื่อง จะช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบ CEMS
และสามารถส่งค่าได้ต่อเนื่องตามที่กฎหมายกำหนด โดยการดูแลระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จะทำการเช็คอุปกรณ์ทุกส่วน
ทั้ง Visual Check, Functional Check, PC check, Clean System ทำให้สามารถสังเกตสิ่งผิดปกติ
หรือสัญญาณเตือนก่อน อุปกรณ์เสียหาย เพื่อให้ CEMS อ่านค่าได้ถูกต้องตลอดเวลา
กฎหมาย CEMS ไทย กำหนดให้โรงไฟฟ้าขยะ ต้องมีการตรวจวัด HCl, CO, SO2, NOx, O2, Flowrate, Temperature
กรณีเชื้อเพลิงขยะมีองค์ประกอบของปรอท Hg ต้องมีการตรวจวัด Hg เพิ่มเติม
|
ระบบ CEMS ประเภท Extractive แบบ Cold Dry จุดสังเกตที่เห็นชัดของระบบนี้คือ Gas Cooler
ซึ่งมีหน้าที่ลดอุณหภูมิของ Gas ที่ถูกดึงเข้ามากก่อนเข้า Analyzer เมื่อ Gas Cooler เสีย ระบบืCEMS
จะตัดการทำงานเพื่อป้องกัน Analyzer AWJ นำ Gas Cooler สำรอง เข้าติดตั้ง CEMS ให้ลูกค้า โรงไฟฟ้า
เพื่อให้ระบบ CEMS ของลูกค้า ส่งข้อมูลเข้ากรมโรงงาน ไม่น้อยกว่า 85% ตามที่กฎหมายกำหนด กฎหมาย CEMS ของไทย
โรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตไฟฟ้า 10 MW ขึ้นไป หรือหม้อไอน้ำขนาด 29 ตัน ขึ้นไป ต้องติดตั้งระบบ CEMS และ
Opacity/Dust Analyzer และ Stack Flow meter
|
#ติดตั้ง CEMS กับ AWJ มีเครื่องสำรองให้ใช้ระหว่างรอซ่อม
กรณีเครื่องมีปัญหา # ทำ Service Contract CEMS กับ AWJ
มีเครื่องสำรองให้ใช้ระหว่างรอซ่อม กรณีเครื่องมีปัญหา
#ลดการซ่อมบำรุง และค่าใช้จ่ายการเก็บอะไหล่ # ติดตั้ง CEMS กับ AWJ
มีเครื่องสำรองให้ใช้ระหว่างรอซ่อม กรณีเครื่องมีปัญหา
#ทำ Service Contract CEMS กับ AWJ มีเครื่องสำรองให้ใช้ระหว่างรอซ่อม กรณีเครื่องมีปัญหา
#ลดการซ่อมบำรุง และค่าใช้จ่ายการเก็บอะไหล่ #CEMS #DAS #Cooler #Opacity #Dust #AWJ
AWJ Innovation Co.,Ltd.
081-9178991, 092-2757369
www.awj.co.th หรือ Line: awjinnovation
Facebook: AWJ Innovation Co., Ltd.
|
|